สมาชิกล็อกอินที่นี่
พุธ 25 เมษายน 2561 ฟรี !! สมัครสมาชิก | ลืมรหัสผ่าน ยินดีต้อนรับ ผู้มาเยือน | ล็อกอิน |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
|
หมายเหตุ ๐๕/๒๕๕๓ บันทึกความทรงจำต่อเหตุการณ์ 19 พฤษภาคม ![]() begin : 2010-11-29 11:58:34 end : 2011-01-09 00:00:00 หมายเหตุ ๐๕/๒๕๕๓ บันทึกความทรงจำต่อเหตุการณ์ 19 พฤษภาคม
กรุงเทพมหานคร - หอศิลป กรุงเทพฯ จัดนิทรรศการ หมายเหตุ ๐๕/๒๕๕๓ บันทึกความทรงจำต่อเหตุการณ์ 19 พฤษภาคมที่ผ่านมา โดย 5 ช่างภาพ 5 มุมมองอันหลากหลากทั้งไทยและเทศ ด้วยแง่มุมมองที่ปราศจากอคติ ข้อเรียกร้อง และเล่ห์กลการเมืองแอบแฝง
นิทรรศการ หมายเหตุ ๐๕/๒๕๕๓ (Rupture Cause and Effect) นำเสนอผ่านสายของช่างภาพทั้งไทยและต่างประเทศ 5 ได้แก่ มานิต ศรีวานิชภูมิ ปิยทัต เหมทัต ออลิวิเอร์ ผิน-แฟ็ท (ชาวอังกฤษ) อันเยส เดอร์เบยส์ (ชาวฝรั่งเศส) และวูล์ฟกัง เบลล์วินเคล (ชาวเยอรมัน) โดยมี ออลิวิเอร์ ผิน-แฟ็ท เป็นภัฑารักษ์ผู้คัดสรรผลงานครั้งนี้ นิทรรศการเปิดให้ชมแล้วตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงวันที่ 9 มกราคม 2554 ที่หอ-ศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร สี่แยกปทุมวัน
นายออลิวิเอร์ ผิน-แฟ็ท กล่าวถึงนิทรรศการครั้งนี้ว่า ผมจงใจทำงานด้วยใจเป็นกลาง ไม่ฝักฝ่ายเข้าข้างทางการเมืองใดๆ แต่ในขณะเดียวกัน ผมก็เสนอมุมมองที่มาจากตัวเอง มาจากความรู้สึก และมาจากจุดยืนทางสุนทรียภาพ ผมมองภาพเหล่านี้เป็นบันทึกส่วนตัวว่าด้วย ความเป็นจริงของประเทศนี้ หรือ บรรทัดฐานของประเทศนี้ ที่ถูกทึ้งทิ้งลงจนไม่เหลือชิ้นดี
ผมถูกแรงร้อนภายในเร้าเร่งให้ถ่ายภาพ-ถ่ายทอด เพราะนี่คือเมืองที่ผมอาศัยเป็น บ้าน เพราะหากไม่ทำ ผมคงรู้สึกแปลกแยก ผมคิดว่า ทุกๆ คนต่างก็มีขั้วมีข้างทางการเมือง เอียงไปไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เพราะนี่เป็นธรรมชาติของคนเรา ไม่ว่าเราจะรู้ตัวหรือไม่ นายออลิวิเอร์ ผิน-แฟ็ท กล่าว
ทั้งนี้ ขณะที่สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองยังไม่มีทีท่าจะสงบลงง่ายๆ การสมานฉันท์และการปรองดองยังไม่ปรากฏผล การกลับไปดูภาพเหตุการณ์ความรุนแรงครั้งประวัติศาสตร์การเมืองไทยของวันที่ 19 พฤษภาคมที่ผ่านมาอีกครั้งหนึ่ง อาจช่วยให้สังคมไทยได้สติ ได้คิดมากขึ้น หมายเหตุ ๐๕/๒๕๕๓ เป็นนิทรรศการภาพถ่ายของ 5 ช่างภาพ 5 มุมมอง ทั้งไทยและต่างประเทศ ที่มีต่อเหตุการณ์ความรุนแรงดังกล่าว ผลงานกว่า 100 ชิ้น ถูกบันทึกขึ้นทั้งก่อน ขณะเกิดขึ้น และหลังเหตุการณ์ความ วุ่นวาย ด้วยแง่มุมมองชวนขบคิดอันแตกไปจากภาพข่าวสื่อรายวันที่นำเสนอมาก่อนหน้านี้ โดยปราศจากอคติ ข้อเรียกร้อง และเล่ห์กลการเมืองแอบแฝง
นายฉัตรวิชัย พรหมทัตตเวที ผู้อำนวยการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ในการแสดงครั้งนี้ เป็นการเปิดโอกาสให้ศิลปินเสนอมุมมองของเหตุการณ์ที่ต่างไปจากการเสนอข้อมูลเท่านั้น เป็นภาพที่ศิลปินสะท้อนความรู้สึกที่มีต่อเหตุการณ์ โดยหอศิลปฯ ถือว่าบทบาทหนึ่งของศิลปินคือการสะท้อนสังคมร่วมสมัย สร้างบทสนทนาให้สังคมเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และในเหตุการณ์สำคัญครั้งนี้ อาจถือเป็นการมองแบบมี อนุสติ ให้อยู่ในความทรงจำ เพื่อหาหนทางแก้ไข ในเวลาเดียวกันการมีส่วนร่วมในการมอง การสนทนาแลกเปลี่ยนร่วมกัน ก็เป็นการแก้ไขปัญหาเรื้อรังระยะยาวของสังคมไทยที่มักมีการสนทนาแต่ในวงแคบ ซึ่งอาจเป็นมูลเหตุของปัญหาตั้งแต่แรกเริ่ม
นิทรรศการ หมายเหตุ ๐๕/๒๕๕๓ จัดแสดงตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน 2553 ถึง 9 มกราคม 2554 ณ ห้องนิทรรศการชั้น 9 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เปิดอ่าน 1568
|
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย | ศูนย์ช่วยเหลือ | ติดต่อสมาคมฯ | ข้อตกลงในการใช้งาน
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย | version 1.0 designed and powered by wekluay graphic design |